โรงพยาบาลกรุงเทพผ่าตัดการใช้พลังงานครั้งใหญ่
กระทรวงพลังงานสนับสนุนโรงพยาบาลกรุงเทพ หนึ่งในอาคารร่วมแข่งขันของโครงการ BEAT 2010 เดินหน้าผ่าตัดการใช้พลังงานในอาคารครั้งใหญ่ใช้งบลงทุนกว่า 70 ล้านบาท เปลี่ยนระบบปรับอากาศภายในอาคารโรงพยาบาลที่กำลังใช้งานอยู่ 11 อาคาร หวังลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศลง 40 เปอร์เซ็นต์ และคืนทุนได้ในระยะเวลา 4 ปี
กระทรวงพลังงานได้จัดให้มีโครงการสร้างขุมกำลังบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน หรือ Building Energy Awards of Thailand ( BEAT 2010) ขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานในอาคาร และกระตุ้นจิตสำนึก สร้างความตื่นตัวด้านอนุรักษ์พลังงานให้กับผู้ใช้อาคารและประชาชนทั่วไป ด้วยการจัดการแข่งขันอาคารอนุรักษ์พลังงานเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมีอาคารจาก 17 องค์กรชั้นนำของประเทศไทย และอีก 2 องค์กรวิชาชีพเข้าร่วมโครงการ และหนึ่งในองค์กรที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพจึงเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของภาคเอกชนที่คำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า และพร้อมที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ความท้าทายของการปรับปรุงระบบปรับอากาศในครั้งนี้ คือ โรงพยาบาลยังต้องสามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติขณะดำเนินการปรับปรุง
อนึ่งโครงการสร้างขุมกำลังบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน ( BEAT 2010) เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อการแข่งขันอาคารอนุรักษ์พลังงานครั้งแรกในประเทศไทย
โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลเอกชลผู้ให้บริการทางการแพทย์แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน มีอาคารที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 17 อาคาร และ 2 อาคารวิชาชีพ ภายในระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ.2553 – สิงหาคม พ.ศ. 2554
ภายใต้กรอบของโครงการดังกล่าว ร.พ.กรุงเทพ ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานใน 3 มาตรการ และหนึ่งใน 3 มาตรการสำคัญนี้ คือ การปรับปรุงระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ด้วยเทคโนโลยีระบบปรับอากาศ District Cooling โดย Trane ที่เน้นการประหยัดพลังงาน มีประสิทธิภาพเป็นเลิศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ปรับปรุงการทำงานของระบบปรับอากาศภายในอาคารทั้งหมดของ
พิธีลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่าง บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด (มหาชน) และ เทรน (ประเทศไทย) ในโครงการรวมศูนย์เครื่องทำน้ำเย็นด้วยเทคโนโลยี District Cooling ด้วยงบประมาณกว่า 70 ล้านบาท
(จากซ้าย) คุณอาทิตย์ ลิ้มไพศาล, ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), นายแพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้บริหาร ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ, ดร. รวี งามโชคชัยเจริญ, Thailand Business Leader เทรน (ประเทศไทย) และ คุณสยาม สมบัติธำรงค์ Services Leader Ingersoll Rand Climate Solutions – lndochina, Philippines and Guam
โดยการประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศทั้งหมดได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานรวม เทียบได้กับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 2,747 ตันต่อปี
นอกจากนั้น คือ การปรับความเร็วรอบมอเตอร์ส่งลมเย็น, การติดตั้งอุปกรณ์ปรับลดการทำงานของระบบแสงสว่างรวมถึงกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่างๆทั้งภายในและภายนอก รวมงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 70 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ BEAT 2010 จำนวน 15 ล้านบาท
ในอดีตที่ผ่านมา ร.พ.กรุงเทพ ดำเนินการด้วยระบบปรับอากาศที่ระบายความร้อนด้วยอากาศจำนวน 16 ชุด โดยเป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำจำนวน 3 ชุดสำหรับ 11 อาคารของโรงพยาบาล ซึ่งใช้พลังงานโดยเฉลี่ย 2,157 เม็กกะวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน หรือปีละ 88 ล้านบาท หรือกล่าวได้ว่าเป็นระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานสูงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมดใน 1 อาคารโรงพยาบาล
ดังนั้นเพื่อปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างจริงจัง ร.พ.กรุงเทพจึงปรับปรุงระบบปรับอากาศเดิมให้กลายเป็นระบบปรับอากาศประหยัดพลังงานแบบรวมศูนย์ของเทรน ที่สามารถจ่ายน้ำเย็นไปตามอาคารต่างๆของโรงพยาบาลด้วยเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูง และด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า ระบบ District Cooling นี้ ร.พ.กรุงเทพจึงสามารถลดการใช้พลังงานได้มากถึง 5,494,018 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้สร้างพื้นที่สีเขียวได้มากถึง 70,436 ตันต่อปี ซึ่งถือเป็นความท้าทายในเชิงวิศวกรรมสำหรับการปรับปรุงระบบปรับอากาศในอาคารกับอาคารที่กำลังใช้งานอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลซึ่งมีผู้ป่วยที่ต้องดูแลรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ และการบริการในโรงพยาบาลไม่สามารถหยุดได้แม้แต่วินาทีเดียว จึงนับเป็นการดำเนินการครั้งแรกของประเทศไทย และปัจจุบันทีมงานก็สามารถตัดต่อระบบวางท่อน้ำเย็นจนแล้วเสร็จ
แม้ว่าการดำเนินงานในครั้งนี้ใช้เงินลงทุนสูงมาก แต่ระบบปรับอากาศใหม่นี้สามารถลดการใช้พลังงานในหมวดของระบบปรับอากาศได้สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกันจะทำให้การใช้ไฟฟ้าโดยรวมลดลงมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ คณะผู้บริหารของโรงพยาบาลจึงไม่ลังเลที่จะดำเนินการ โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณส่วนหนึ่งจากโครงการ BEAT 2010 เพราะแม้ว่าผลประหยัดในเชิงตัวเลขจะเกิดขึ้นกับ รพ.กรุงเทพ แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาการลดใช้พลังงานนั้น จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง